การจัดองค์ประกอบภาพ วิธีการแต่งรูปให้ภาพสวยคมชัด รูปไฟล์เล็กไม่ใช่ปัญหา เคล็ดลับทำให้รูปเล็กขยายโดยไม่แตก !!
การจัดองค์ประกอบภาพ นอกเหนือจากหลักการคร่าวๆ อย่าง กฎสามส่วนแล้ว หลักอีกหลายๆ อย่างที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย เพื่อให้เกิดความสวยงาม น่าสนใจ ดูแล้วไม่เบื่อ หลักการต่อไปจะกล่าวถึง คือ เรื่องของมุมกล้องกับช่องว่าง
ช่องว่าง
การจัดองค์ประกอบภาพ หากจัดให้จุดเด่นอยู่ตรงกึ่งกลางภาพทุกรูปภาพที่ออกมาก็จะดูน่าเบื่อ ไม่มีมุมมองที่หลากหลาย และโอกาสที่จะได้ภาพที่แปลกใหม่ก็แทบจะไม่มีเลย การกำหนดช่องว่างภายในเฟรม จึงมีส่วนช่วยให้ภาพดูเหมะสม มีความหมาย และก่อให้เกิดความรู้สึกมากยิ่งขึ้น เช่น หากเรากำลังถ่ายรูปวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หากเราจัดให้มีการเว้นช่องว่างในทิศทางที่วัตถุหันหรือเคลื่อนที่ไปนั้น ภาพที่ออกมาก็จะถูกคาดหมายว่าวัตถุกำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เว้นว่างไว้ เช่น ภาพของการเคลื่อนที่ของรถยนต์ การแข่งม้า การขี่จักรยาน
มุมกล้อง
นอกจากช่องว่างจะมีผลต่อความรู้สึกของภาพถ่ายแล้ว การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน ยังมีผลต่อความคิดความรู้สึกที่จะสื่อความหมายไปยังผู้ดูได้ เราอาจแบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ คือ
1.ภาพระดับสายตา คือ การถ่ายภาพในตำแหน่งที่อยู่ในระดับสายตาปรกติที่เรามองเห็น ขนานกับพื้นดิน ภาพที่จะได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดา
2.ภาพมุมต่ำการถ่ายภาพในมุมต่ำ คือ การถ่ายในต่ำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุ จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง แสดงถึงความสง่า
การถ่ายภาพมุมสูง คือ การตั้งกล้องถ่ายในต่ำแหน่งที่สูงกว่าวัตถุ ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ

การจัดองค์ประกอบภาพ
ภาพภ่ายที่ดีไม่ใช่เป็นเพียงภาพที่รับแสงได้พอดีและเห็นสิ่งต่างๆ ในภาพได้ชัดเจนเท่านั้น แต่ต้องเป็นภาพที่มีเรื่องราวน่าสนใจ มีมุมการถ่ายภาพหรือจัดองค์ประกอบภาพที่ดี สร้างความสวยงามแก่ภาพให้สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ที่พบเห็นได้ หรือสามารถโน้มน้าวจิตใจให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม เห็นจริงเห็นจังกับเรื่องราวและความงามของภาพนั้นด้วย
ดังนั้น นักถ่ายภาพที่ดีจึงต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีสายตาแหลมคมในการมองหาภาพ และมีความเข้าใจในการจัดองค์ประกอบภาพให้สวยงามมีคุณค่า มิใช่เพียงแต่รู้จักการใช้กล้องและอุปกรณ์ต่างๆ ได้จัดเจนเท่านั้น
การจัดองค์ประกอบาภาพมี 2 ประเภท คือ
1. ผู้ถ่ายจัดวางสิ่งของที่จะถ่ายตามความพอใจ ส่วนใหญ่จะเป็นการถ่ายสิ่งที่อยู่นิ่งและสิ่งที่ไร้ชีวิต เช่น ดอกไม้ เครื่องเรือน เครื่องเล่น เครื่องกีฬา และรวมทั้งการถ่ายภาพคนครึ่งตัว
2. ผู้ถ่ายหามุมถ่าย หรือเปลี่ยนเลนส์ใกล้-ไกล ตลอดจนการใช้วิธีการอื่นๆ เพื่อให้ได้ภาพสวยงามตามต้องการ เนื่องจากไม่สามารถจะจับวางสิ่งที่จะถ่ายให้อยู่ในตำแหน่งตามอำเภอใจได้ เช่น ทิวทัศน์ตามธรรมชาติ หรือเหตุการณ์เคลื่อนไหวต่างๆ
การจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพได้ประยุกต์มาจากวิชาวาดเขียน คือถ่ายภาพให้คล้ายกับภาพวาด โดยใช้วิธีเดียวกันกับจิตรกรวาดภาพที่ต้องพยายามจัดวางองค์ประกอบภาพให้สมบูรณ์ที่สุด ให้แสดงเรื่องราว อารมณ์ และบรรยากาศอย่างเด่นชัด
หลักการใหญ่ๆ ในการจัดองค์ประกอบภาพ ได้แก่
1. ตำแหน่งจุดเด่นหรือจุดสนใจ (Point of Interest)
หลักการประกอบภาพนั้น นิยมวางจะเด่นหรือจุดสนใจไว้ตรงจุดตัด 9 ช่อง ไม่ว่าจะเป็นภาพแนวตั้ง แนวนอน หรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก็ตาม (ดังภาพประกอบ)

จุดทุกจุดที่ตัดกันระหว่างเส้นนั้น ถือว่าเปนตำแหน่งสำหรับวางจุดเด่นได้ การที่ไม่วางจุดเด่นไว้ตรงกลางภาพ ก็เนื่องด้วยคนเราดูภาพมักจะมองดูตรงกลางก่อน ถ้าวางจุดเด่นอยู่ตรงกลางแล้ว ส่วนอื่นๆ ของภาพย่อมขาดความสำคัญไป จึงควรใช้เนื้อที่ของภาพให้เป็นประโยชน์ทุกตารางนิ้ว
2. ความสมดุลของภาพ (Balance)
ความสมดุลในการจัดองค์ประกอบภาพนั้น คือการจัดวางสิ่งต่างๆ ในภาพให้มีความสมดุลกัน โดยมิให้ด้านใดด้านหนึ่งของภาพหนักกว่าอีกด้านหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านซ้าย-ขวา หรือด้านบน-ล่าง หากวางส่วนสำคัญต่างๆ ให้เหมาะสม จะทำให้ความสมดุลในองค์ประกอบสวยงามดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากภาพที่ ๑ จะเป็นได้ว่าการวางส่วนสำคัญของภาพเท่ากันทั้ง 2 ข้าง แม้จะมีความสมดุลก็จริง แต่ก็ดูจืดชืดไม่ดึงดูดความสนใจ ส่วนในภาพที่ ๒ วางส่วนสำคัญอยู่ข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้างหนึ่ง ก็เกิดความไม่สมดุล แต่จากภาพที่ ๓ ส่วนสำคัญมีลักษณะใหญ่แต่มีสีอ่อน อาจถ่วงด้วยส่วนอื่นที่แม้จะเล็กกว่าแต่มีสีเข้มกว่า ก็ทำให้เกิดความสมดุลได้ แลดูสวยงามดี
3. ความสมดุลของสี (Tone balance)

ส่วนสัมพันธ์ต่างๆ ของสีในภาพก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง จากาภาพที่ ๑-๒ จะเป็นได้ว่า การจัดสีเขัมไว้เบื้องล่างจะแลดูดีกว่าวางอยู่ข้างบน จากภาพที่ ๓ หากมีความจำเป็นที่จะต้องมีสีเข้มอยู่ส่วนบน ก็ควรแก้ไขด้วยการสอดแทรกสีอ่อนลงไปบ้าง ในทำนองเดียวกัน หากด้านบนมีสีอ่อนมากไป ก็อาจเสริมสีเข้มเข้าไปบ้างก็ได้ จะทำให้ความสมดุลของสีดีขึ้น
4. การเน้นสี (Emphasis on tone)
การเน้นสีเป็นการเน้นจุดเด่นให้เห็นเด่นชัดจริงๆ เนื่องจากจุดเด่นนั้นมีความสำคัญในเรื่องน้ำหนักของสี เช่น จุดเด่นมีน้ำหนักสีเข้ม ก็ควรให้วางอยู่ในที่ที่มีพื้นสีอ่อน ในทางกลับกัน หากจุดเด่นมีสีอ่อน ก็ควรจัดให้อยู่ในพื้นที่ที่มีสีเข้มกว่า การถ่ายรูปคนที่แต่งชุดเขียวอยู่บนพื้นหญ้าสีเขียว ย่อมจะทำให้ไม่ได้ผลดีในการเน้นสี เพราะสีทั้งสองมีน้ำหนักสีใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะถ่ายเป็นภาพสีหรือภาพขาวดำก็ตาม การเน้นสีย่อมจะไม่เด่นพอฃ
การเน้นสีในภาพสี
เป็นที่ทราบกันบ้างแล้วว่า สีรุ้ง ประกอบด้วย สีแดง ส้ม เหลือง เขียว ฟ้า น้ำเงิน ม่วง จำนวนสีรุ้งทั้ง ๗ สีนี้ สามารถแบ่งออกได้ ๒ กลุ่มด้วยกันคือ
กลุ่มสีอุ่น ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือ
กลุ่มสีเย็น ได้แก่ สีฟ้า สีน้ำเงิน สีม่วง
ส่วนสีเขียวนั้น ถือกันว่าเป็นสีกลาง นับเข้ากับกลุ่มไหนก็ได้
เมื่อเราเห็นไฟ เราก็จะรู้สึกว่าร้อน เมื่อเราเห็นดวงอาทิตย์จะรู้สึกอุ่น ดังนั้น เมื่อเราเห็นสีแดง ส้ม เหลือง ความรู้สึกในด้านจิตใจจะเกิดความอบอุ่น ตื่นเต้น ทะเยอทะยาน
ครั้นเมื่อเราเห็นฟ้าสีคราม เห็นป่าสีเขียว เราจะรู้สึกเยือกเย็นสงบและเดียวดาย การสัมผัสด้วยตานี้เองคืออิทธิพลของสีที่ส่งผลกระทบถึงจิตประสาทคนเราได้ ในการถ่ายภาพจึงเป็นการสมควรที่เราจะต้องเลือกใช้สีให้ถูกต้อง ตามกาละเทศะตามเรื่องราว และตามอารมณ์ของภาพอย่างระมัดระวัง
สมมุติว่าเราจะถ่ายภาพคนที่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง การที่จะให้สีตัดกันอย่างได้ผลเราจะเลือกใช้สีฟ้าหรือสีน้ำเงินเป็นฉากหลัง ในทางตรงกันข้าม หากถ่ายภาพผู้สวมเสื้อผ้าสีน้ำเงิน เราก็ควรเลือกใชสีแดง สีส้ม หรือสีเหลืองมารองรับในฉากหลัง เพื่อให้ผลในการตัดกันของสีดูเด่นดี
นอกเหนือไปจากการใช้สีอุ่น ตัดกับสีเย็นแล้ว เราอาจพลิกแพลงใช้สีที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันมารวมอยู่ในภาพด้วยกันก็ได้ ทั้งนี้เพื่อการแสดงอารมณ์ตามเรื่องราวของภาพให้เด่นชัด เช่น เมื่อเราต้องการให้ภาพแสดงอารมณ์รุ่มร้อน ตื่นเต้น ทะเยอทะยาน เราก็ใช้สีแดงตัดกับสีแดงได้ เพียงแต่ให้มีความเข้มและความอ่อนแตกต่างกัน
สรุปได้ว่า เมื่อเราต้องการให้สีใดเป็นสีเด่น เราก็อาศัยสีตรงกันข้ามมาตัด แต่ถ้าต้องการให้สีมีความกลมกลืนกัน ของสีที่เป็นแม่สีกลุ่มเดียวกัน เพียงแต่ให้อ่อนหรือแก่กว่ากันเท่านั้น
พอจะกล่าวได้ว่า ผลของสีที่ถ่ายมาจะสวยสดงดงามเพียงไร ขึ้นอยู่กับการตัดกันของสีตรงกันข้าม และความกลมกลืมกันของสีที่เป็นแม่สีกลุ่มเดียวกัน การถ่ายภาพสีจึงไม่ควรให้มีสีมากมายจนเกินไป เช่น ภ่ายภาพสวนดอกไม้ที่มีดอกไม้สารพัดสี หาความเด่นของสีใดสีหนึ่งไม่ได้ หรือถ่ายภาพคนที่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าลายจุดลายดอกมากมาย จะทำให้ผู้ชมละลานตาและสับสนไปด้วย ภาพสีดังกล่าวจึงหาความงามไม่ได้
ฉะนั้น การถ่ายภาพสี ไม่ว่าจะถ่ายนอกบ้านหรือในบ้านฉากหลังเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงให้มาก พยายามเลือกฉาดหลังที่มีสีถูกต้องและขจัดความยุ่งเหยิงของฉากหลังออกไปให้หมดก่อนถ่ายภาพทุกครั้ง และถ้าจะให้คนที่เป็นจุดเด่นของาภาพมีความเด่นน่าดู ควรให้สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีเรียบๆ ปราศจากลวดลายลานตาด้วย
5. การเน้นลักษณะของรูปทรง (Emphasis of forms)
ลักษณะรูปทรงต่างๆ ในภาพถ่ายมีได้หลายแบบ เช่น
? รูปสามเหลี่ยม เป็นเครื่องหมายแห่งความมั่นคง หนักแน่น
? รูปตัว S แสดงถึงควมอ่อนช้อย อ่อนหวาน นุ่มนวล
? รูปตัว L แสดงถึงการเชื่อมโยง ความผูกพัน เกี่ยวพันถึงกัน
นอกจากนี้ ลักษณะของภาพที่วางเป็นเส้นทะแยงมุม ย่อมแสดงถึงการเคลื่อนไหว ความรุนแรง และยังมีลักษณะรูปทรงอื่นๆ อีกมากมาย
6. การแสดงซ้ำซากหรือล้อเลียน (Repetition echo)
องค์ประกอบในภาพถ่ายอาจจะมีการแสดงซ้ำซากหรือล้อเลียน เปรียบดังเช่นโคลงกลอนที่เพราะจับใจ จะต้องมีเสียงสัมผัสที่ดี หรือดนตรีที่ไพเราะน่าฟัง ก็ต้องมีท่วงทำนองและลูกคู่ที่คล้องจองพร้อมเพรียงกัน
7. บรรยากาศและอารมณ์ (Atmosphere + Emotion)
ภาพถ่ายก็คล้ายกับภาพเขียนที่มีการแสดงออกถึงบรรยากาศทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์คล้อยตาม เช่น เกิดความหนาว เยือกเย็น เกิดความสงบหรือความรุ่มร้อน รุนแรง รวมทั้งอารมณ์ของภาพที่แสดงผลไปในทางแจ่มใส ร่าเริง สดชื่น หรือเศร้าโศก อับเฉา เป็นต้น
8. ความลึกและทัศนมิติ (Third dimention)
ตามปกติแล้ว แผ่นภาพถ่ายจะมีเพียง ๒ มิติ คือความกว้างและความยาวเท่านั้น ส่วนความลึกนั้นไม่มี การที่จะทำให้ภาพเกิดความลึกด้วยนั้น ทำได้หลายวิธี เช่น
? เน้นสิ่งที่อยู่ใกล้ให้มีสีเข้ม แล้วค่อยๆ ให้สีจางลงไปตามระยะที่ห่างออกไป
? ประกอบโครงสร้างล้อมกรอบอยู่ในฉากหน้าของภาพ
? เน้นความชัดเฉพาะจุดเด่นที่อยู่ใกล้ ปล่อยให้สิ่งที่อยู่ไกลถัดไปพร่ามัวตามลำดับ
? สรรหาสิ่งที่เป็นทิวแถว เน้นตอนหน้าให้มีลักษณะใหญ่และค่อยๆ ลดขนาดลงตามระยะ
? ใช้เส้นนำสายตาไปสู่จุดสนใจ จากไกล้ไปถึงไกล
? ให้แสงส่องมาจากด้านข้างหรือด้านหลัง พร้อมกับใช้ฉากหลังที่มีสีเข้ม ทำให้เกิดความลึกแก่ภาพเช่นเดียวกัน
9. เนื้อที่ของภาพ (Picture area)
เนื้อที่ในแผ่นภาพทุกตารางนิ้ว มีไว้สำหรับจัดวางองค์ประกอบ การถ่ายภาพที่ให้จุดเด่นมีขนาดใหญ่เกินไป จะทำให้ดูรู้สึกคับภาพ จุดเด่นเล็กเกินไปก็รู้สึกว่างเปล่าและไร้ความหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างช่องว่างกับจุดเด่นจึงมีความสำคัญเกี่ยวพันกันอยู่จุดเด่นที่มีกิริยาเคลื่อนไปข้างใด หรือคนหันหน้าไปทางไหน ข้างนั้นควรให้มีช่องว่างมากกว่า มิฉะนั้นจะทำให้รู้สึกว่าไม่มีที่ว่างจะก้าวหรือเคลื่อนไป ถ้าวางจุดเด่นอยู่ชิดขอบภาพเกินไป ก็จะทำให้รู้สึกอึดอัด ดูแล้วไม่สบายใจ
10. เอกภาพ (Unity)
การจัดองค์ประกอบต่างๆ ในภาพให้มีความสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล ตามเรื่องราวที่ภาพแสดงออกมาและเชื่อมโยงให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ได้ชื่อว่ามีเอกภาพ
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรจัดส่วนต่างๆ ในภาพให้เรียบร้อยเกินไปจนดูแล้วรู้ได้ว่าเป็นการจงใจ ในเวลาเดียวกันก็ต้องขจัดสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้ภาพมีความยุ่งเหยิงออกไปให้หมด การแสดงเรื่องราวในภาพเดียวกันหลายๆ เรื่อง ก็ทำลายเอกภาพเช่นกัน
หลักการจัดองค์ประกอบภาพทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มิได้หมายความว่าจะให้ยึดปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หรือถือเป็นหลักการตายตัวเสมอไป แต่สำหรับผู้ที่เริ่มถ่ายภาพใหม่ๆ ควรที่จะนำไปปฏิบัติให้เข้าหลักเกณฑ์ก่อน ต่อเมื่อได้ศึกษาและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญแล้ว การที่จะพลิกแพลงหรือสร้างสรรค์ให้ได้ภาพที่ดีกว่า แปลกตากว่า ก็สามารถทำใด้ง่ายขึ้น
วิธีใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ ทำให้รูปภาพ ที่ไม่ชัดเจน หรือไฟล์รูปเล็ก แตก ทำให้รูปคมชัด ถึงแม้ภาพต้นฉบับจะเป็นไฟล์ภาพที่เล็ก หรือแตกเป็นตารางหมากรุกหรือเบลอ ทำให้กลายเป็นรูปที่คมชัดสวยงาม รวมทั้งรูปภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น นำไป print หรือนำไปพิมพ์ด้วยระบบพิมพ์ไม่มีปัญหา
โปรดติดตามครับ กำลังรวบรวมไว้ให้ จากประสบการณ์จริงครับ ********************
ADMIN
|